Pinkoi แพลตฟอร์มซื้อขายงานดีไซน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียผู้ผลักดันและสนับสนุนให้แบรนด์ก้าวสู่ความสำเร็จในระดับนานาชาติที่ปัจจุบันมีแบรนด์บนเว็บไซต์มากกว่า 35,000 แบรนด์
10 ปีที่ผ่านมา Pinkoi ได้รวบรวมแบรนด์ดีไซน์มากว่า 35,000 แบรนด์มาไว้บนเว็บไซต์ กลายเป็นแพลต์ฟอร์มซื้อขายงานดีไซน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เมื่อแพลตฟอร์มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาพบว่าการที่จะสร้าง Ecosystem ที่ดีได้นั้น นอกจากต้องวางรากฐานให้มั่นคงแล้วยังต้องสนับสนุนและผลักดันให้ดีไซเนอร์ขยายและพัฒนาแบรนด์สู่สากลด้วย
เมื่อต้นปี 2022 ที่ผ่านมา Pinkoi จับมือ Shopping Design ร่วมปลดปล่อยพลังแห่งการสร้างสรรค์ จัดโครงการประกวดรางวัล Pinkoi Design Award โดยมีรางวัลทั้งหมด 5 รายการจาก 3 สาขา คือ สาขาดีไซน์และคุณภาพ ศักยภาพ และคุณค่าของแบรนด์
โดยได้รับเกียรติจากกรรมการผู้ทรงคุณวุติ 5 ท่านจากวงการออกแบบ นิทรรศการ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็น Johnason Lo ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟไดเร็กเตอร์จาก JL DESIGN และ CBO แห่ง Good Finance Securities จากไต้หวัน, Yu Yamada Buyer/Curator จาก method inc. ญี่ปุ่น, Javin Mo ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสูงสุดด้านการออกแบบ Milkxhake จากฮ่องกง, Ark Hsieh ผู้บริหารบริษัทตัวแทนนำเข้าผลิตภัณฑ์ออกแบบ NEWTIME จากจีน และคุณมณฑิณี ยงวิกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จากไทย มาร่วมเฟ้นหางานออกแบบคุณภาพ และเชิดชูผู้สร้างสรรค์งานออกแบบ รวมถึงส่งเสริมให้ดีไซเนอร์ร่วมกันผลักดันการเปลี่ยนงานออกแบบให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ครั้งนี้เราจึงมีโอกาสพูดคุยกับคณะกรรมการทั้ง 5 ถึงเทรนด์ของงานดีไซน์เอเชียในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงมุมมองต่อแนวโน้มของงานออกแบบในอนาคตรวมถึงการสร้างโมเดลธุรกิจในภาคงานออกแบบ
การออกแบบเปลี่ยนแปลงและมีอิทธิพลกับวิถีชีวิตของคน
Johnason Lo ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟไดเร็กเตอร์จาก JL DESIGN และ CBO แห่ง Good Finance Securities มองว่าการออกแบบช่วยให้มนุษย์ค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากมาย และมีบทบาทอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนหมู่มากในสังคม แต่ความสวยงามและฟังก์ชั่นมักไหลและเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ดังนั้นก่อนผลิตอะไรขึ้นมาสักอย่างต้องตอบให้ได้ว่าเราออกแบบทำไม เพื่อใคร รและสามารถเปลี่ยนวิธีคิด วิถีชีวิต พฤติกรรม รวมถึงจินตนาการของคนได้ไหม
คุณมณฑิณี ยงวิกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เสริมว่าค่านิยมและวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ค่อยๆ เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้ผู้ผลิตและอุตสาหกรรมต้องปรับตัวและออกแบบกลยุทธ์ รวมถึงสร้างประสบการณ์ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เธอยังเน้นย้ำอีกว่า งานออกแบบในทุกวันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความสวยงามและฟังก์ชั่นอีกต่อไป แต่ยังต้องสามารถสร้างคุณค่าให้กับชีวิต
แนวโน้มอุตสาหกรรมออกแบบของเอเชียในอนาคต
Yu Yamada Buyer/Curator จาก method inc. มองว่าในอนาคตผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณค่าทางสังคมจะหมดความสำคัญ ผู้บริโภคจะเริ่มคำนึงถึงความจำเป็น ตั้งคำถามถึงที่มา แนวคิด และคุณค่าของการออกแบบ ว่าทำไมถึงต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นเจ้าของสินค้าชิ้นหนึ่ง ซื้อมาแล้วมีประโยชน์มากแค่ไหน และงานของคุณจะถูกตั้งคำถามและหมดความหมายเมื่อมันไม่ตอบโจทย์และไม่ได้สร้างคุณค่าใดเลยกับสังคม
Johnason Lo เองก็เชื่อว่า การออกแบบที่ดีไม่เพียงต้องยกระดับสุนทรียและความสวยงามแต่ควรมีความยั่งยืน ทนทาน ใช้งานได้นาน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดในทุกกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การพิจารณาถึงปัญหาจากมุมมองในระดับปัจเจก ไปจนถึงคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนผ่านการออกแบบที่เรียบง่าย และทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
การออกแบบเและการทำให้เป็นธุรกิจ
จากประสบการณ์การทำงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ Johnason Lo มองว่าเมื่อมี “ธุรกิจ” จึงเกิด “การออกแบบ” หมายความว่า เมื่อภาคธุกิจสำรวจเห็นปัญหาและความต้องการของมนุษย์ จึงเกิดการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา และเมื่อนักออกแบบสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านงานออกแบบ ก็จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถพัฒนาต่อยอดแนวคิดใหม่ๆ ต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นทั้งสองเป็นสิ่งที่คอยเกื้อหนุนกัน
Ark Hsieh ผู้บริหารบริษัทตัวแทนนำเข้าผลิตภัณฑ์ออกแบบ NEWTIME จากจีนมองว่าการออกแบบคือส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจ ในอนาคตผู้คนจำนวนมากขึ้นจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการแก่องค์กรขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกัน ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ คนที่ไม่ได้เรียนสายออกแบบก็จะเข้ามามีบทบาทและทำงานในสายงานออกแบบมากขึ้น
นอกจากนี้ ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่เกิดจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จะทำให้บทบาทของตัวแทนจำหน่ายโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้ที่เข้าใจวัฒนธรรมและพฤติกรรม ตลอดจนเข้าถึงผู้บริโภคในพื้นที่นั้นๆ ได้ง่ายและดีที่สุด
Javin Mo ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสูงสุดด้านการออกแบบ Milkxhake จากฮ่องกงเสริมว่า การออกแบบเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างสรรค์งานที่ภาคธุรกิจใช้สื่อสารกับลูกค้า ต่างจากงานศิลปะที่มาจากตัวศิลปินเอง นี่คือข้อแตกต่างระหว่างงานออกแบบและงานศิลปะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดเช่นกัน และการออกแบบในรูปแบบเชิงพาณิชย์ที่สมบูรณ์นั้นต้องประกอบไปด้วยไอเดียจากลูกค้า มุมมองของนักออกแบบ และกลยุทธ์ทางการตลาด
สำหรับ Yu Yamada แลัว เขามองว่าวิถีชีวิตของเราเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับการออกแบบเชิงพาณิชย์ เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยนการออกแบบย่อมปลี่ยนตาม เช่น Development experience และ Service experience ล้วนแล้วแต่ต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคจึงจะสามารถพัฒนาและออกแบบโมเดลธุรกิจได้
เราใช้การออกแบบเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา และให้ธุรกิจเป็นตัววัดว่าวิธีแก้ปัญหานั้นมีความเป็นไปได้และมีประสิทธิภาพแค่ไหน ในอนาคตการออกแบบและการพาณิชย์จะเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อกันมากขึ้น มากจนกระทั่งยากที่จะแยกออกจากกัน และเป็นสิ่งที่ทำให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน
ดูเพิ่มเติมที่ : รายชื่อแบรนด์ที่คว้ารางวัล Pinkoi Design Awards
(บทความโดย :เซี่ย ซ่าน เหลียน)