ถ้าคุณยังจำกันได้ ในสมัยที่ COVID-19 ยังไม่แพร่ระบาด โลกที่ทุกคนสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี สนุกกับการแต่งตัวแต่งหน้าในแบบต่างๆ โดยที่ไม่มีหน้ากาอนามัยมาปิดกั้น
หากอยู่ในสถานการณ์ปกติ เดือนตุลาคมมักจะเป็นเดือนที่โรงแรมและโฮสเทสในไทเปเต็มหมดทุกที่ เพราะชาว LGBTQ ทั่วโลกต่างบินมาจับจองห้องว่างไว้หมดแล้ว นั่นเป็นเพราะว่า งาน Pride ของไต้หวันจัดขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกปีอย่างไรล่ะ
ถ้าหากคุณได้มีโอกาสไปเดินในงาน Pride ที่ไต้หวันสักครั้ง นอกจากจะตื่นตากับชุดแต่งกายสีสันจัดจ้านจากชาว LGBTQ ในงาน คุณจะสังเกตเห็นข้าวของกระจุกกระจิกน่ารัก ที่เป็นผลงานของบรรดาดีไซเนอร์ที่มาออกงานอยู่ในบูธของ Pinkoi Taiwan ที่ในฐานะผู้สนับสนุนงานนี้มาเป็นระยะเวลาหลายปี
ในปี 2021 นี้ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Pinkoi Japan ของเราได้ประกาศร่วมสนันสนุน “ TOKYO RAINBOW PRIDE 2021” ที่สนับสนุน LGBTQ ในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในการร่วมจัดแคมเปญออนไลน์
ตั้งแต่วันที่ 8-30 เมษายน 2021 นี้ รวบรวมสินค้าไอเท็มสายรุ้ง สัญลักษณ์ของชาว LGBTQ มาไว้บนเว็บไซต์ Pinkoi ละลานตาไปกับสีสันสดใสของสายรุ้งเสมือนกับว่าคุณกำลังได้ไปเดินขบวนที่งาน Pride ที่ไหนสักแห่ง แม้ว่าระยะทางที่ไกลที่สุดที่คุณเดินตอนนี้คือจากเตียงนอนมาโต๊ะทำงาน เพื่อเปิดโปรแกรม Zoom แล้วประชุมงานก็ตาม
ว่าแต่ทำไมต้องเป็นสายรุ้งด้วยล่ะ?
สีรุ้งเป็นเฉดสีที่โดดเด่นสะดุดตา ที่ต่อให้ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ก็มักมองเห็นสีนี้ก่อนสีอื่นเสมอ เช่นเดียวกับการที่คนมักจะจดจำภาพของชาว LGBTQ ว่าสดใสและสนุกสนานเหมือนสีสันของสายรุ้ง แต่คนมักลืมไปว่ายังมีชาว LGBTQ อีกมากมายที่ไม่สามารถเปล่งประกายออกมาเหมือนเป็นสีรุ้ง เพราะพวกเขาไม่สามารถออกมา come out ได้
ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางด้านครอบครัว ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ หรือแม้แต่เหตุผลส่วนตัว หรือแม้พวกเขาจะ come out ออกมาแล้วก็ยังถูกคนรอบตัวหรือคนในครอบครัวทำเป็นมองไม่เห็นว่าสิ่งที่เขาเป็นจริงๆ นั่นคืออะไร
เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงต้องการสัญลักษณ์อะไรสักอย่างที่โดดเด่นมากพอที่จะทำให้ตัวตนของเขาถูกมองเห็น ชัดเจนมากพอที่จะให้ใครได้ยินเสียงของพวกเขาว่าต้องการอะไร สิ่งนั้นจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากธงสายรุ้ง เฉดสีที่รวมทุกสีบนโลกใบนี้ สีที่ยังสามารถสื่อถึงความหลากหลายทางเชื้อชาติ เพศและอายุของชาว LGBTQ ทั้งหลายบนโลกใบนี้อีกด้วย ทั้งหมดเราไม่ได้คิดเองนะ แต่แกะมาจากบทสัมภาษณ์ของคุณ Gilbert Baker ศิลปินผู้ประกาศตัวเป็นเกย์และ ยังเป็น Drag queen ในเวลาเดียวกัน ผู้ให้กำเนิดธงสีรุ้งอันเป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQ จวบจนถึงทุกวันนี้
เราอยากให้คุณมองให้เห็นชาว LGBTQ มากไปกว่าแค่การใช้สินค้าสายรุ้งหลากสีที่เรากำลังจะนำเสนอในวันนี้ ด้วยการชวนมาดูหนัง LGBTQ ของประเทศต่างๆในเอเชียที่เราคัดมาแล้ว เพราะเราเชื่อว่าหากเราจะทำความเข้าใจใครสักคน
เราควรถามหนังสือที่เขาอ่าน และถ้าเราอยากรู้ว่าเรื่องราวของแต่ละชาติเป็นอย่างไร เราก็ควรดูหนังของประเทศนั้นๆ เราได้รวบรวมหนังไต้หวันที่เด็กสาวม.ปลายที่สับสนว่าตัวเองชอบใครกันแน่ระหว่างเพื่อนสาวคนสนิทหรือหนุ่มนักกีฬาว่ายน้ำของโรงเรียนไปจนถึงซีรี่ย์ญี่ปุ่นที่กล่าวถึงหนุ่มทำงานวัย 30 ที่เพิ่งค้นพบว่าเพื่อนร่วมงานชายแอบชอบเขา ความสัมพันธ์ของพวกเขาทั้งหมดนั้นหลากหลายและซับซ้อนเหมือนๆกับสีสันหลายเฉดสีของธงสายรุ้ง
เราอยากชวนคุณที่อาจถูกดูดกลืนความรื่นรมย์ในชีวิตเพราะกำลังเครียดกับสถานการณ์ของโรคระบาดในตอนนี้ ได้กลับให้หัวใจสูบฉีดเต้นแรงอีกครั้งกับเรื่องราวความรักของพวกเขา
เริ่มที่ญี่ปุ่นดินแดนแห่งผู้สร้างโลกอนิเมะและมังงะ ที่ถ่ายทอดความเป็นญี่ปุ่นให้เข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น Hunter x Hunter ,เซเลอร์มูน , นินจาทาจิโร่ , ดาบพิฆาตอสูร ที่สร้างความประทับใจให้ทั่วทุกมุมโลกมายาวนาน และ Cherry Magic! ก็เป็นหนึ่งในซี่รีย์ LGBTQ ที่สร้างมาจากมังงะที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่แล้ว
เรื่องราวของ คิโยชิ อาดาจิ เป็น พนักงานบริษัทหนุ่มโสดธรรมดา และยังเวอร์จิ้นอยู่ และเมื่อวันเกิดอายุครบ 30 ปีของเขาก็วนมาถึง จากหนุ่มโสดชีวิตแสนธรรมดากลายมาเป็นผู้มีพลังพิเศษอ่านใจคนอื่นได้ด้วยการสัมผัส และความบังเอิญก็เกิดขึ้นกับเขาอีกครั้ง หลังจากเผลอไปสัมผัสตัว ยูอิจิคุ โรซาวะ รุ่นพี่ที่ฮอตที่สุดในบริษัท เขาก็ได้รู้ว่ารุ่นพี่แอบชอบเขาอยู่!
นอกจากเคมีระหว่างนักแสดงจะน่าจิ้นแล้ว ซีรี่ย์ชื่อหวานแหววนี้ยังสอดแทรกวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นและการให้เกียรติกันระหว่างคู่รักเพศเดียวกันในวัยทำงาน จึงไม่แปลกใจว่าทำไมซีรี่ย์เรื่องนี้ถึงได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
เนื่องจากซีรี่ย์เรื่องนี้มีฉากฟินเยอะมาก เราจึงขอแนะนำไอเท็มที่เหมาะกับการดู
#หมอนสายรุ้งที่เอาไว้ดูยามฟินจิกหมอน
#ถุงเท้ามาเป็นคู่เพิ่มความอบอุ่น
#เสื้อฮู้ด/เสื้อยืดใส่คู่กันแบบตัวละครในซีรี่ย์
ไต้หวันเพิ่งจะมีการผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันไปในปี 2019 และยังเป็นเจ้าภาพจัดงาน Pride ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในหนังไต้หวัน เรามักเห็นตัวละครที่เป็น LGBTQ ปรากฏอยู่ในหนังหลายเรื่องมานานและค่อนข้างบ่อย เพราะฉะนั้นเราขอเลือกหนังที่เก่าหน่อย แต่คลาสสิคตลอดกาลอย่าง Blue Gate Crossing ที่คนอาจจะมองว่าเป็นหนังประเภท Coming of Age หรือ Romantic Comedy มากกว่า แต่เรากลับมองว่า
หนังเรื่องนี้สะท้อนคำว่า Love has no gender ได้อย่างแท้จริง
จูบแรกของเธอ เธอได้ให้มันไปกับผู้ชายที่เธอชอบ หรือผู้หญิงที่เธอชอบ? เป็นประโยคเปิดตัวของ Trailer หนังเรื่อง Blue Gate Crossing เรื่องราวของสองสาวเพื่อนสนิท เมิ่งเคอเหยาและหลินยู่เจิน และรู้มาตลอดว่าหลินยู่เจินแอบชอบจางซือฮาว หนุ่มนักกีฬาของโรงเรียน หลินยู่เจินได้ไว้วานให้เมิ่งเค่อเหยาส่งจดหมายรักไปให้จางซือฮาว แต่จางซือฮาวกลับเข้าใจผิดว่าเมิ่งเค่อเหยาชอบเขา และเขาก็ดันชอบเธอเสียด้วย
ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพาคุณย้อนความทรงจำกลับไปถึงชีวิตวัยเรียน ความงดงามของชีวิตวัยรุ่น และความสับสนในใจของเด็กสาวที่ต้องก้าวผ่านในวัยนี้ มาดูไอเท็มที่เหมาะกับการย้อนระลึกความหลัง
#ถุงใส่แก้วชานมที่เหมาะสำหรับคล้องจักรยานปั่นไปโรงเรียนแบบในเรื่อง
#เข็มกลัดประดับกระเป๋านักเรียน
#เสื้อกล้ามแบบที่พระเอกชอบใส่
ถึงฮ่องกงจะไม่มีการออกกฎหมายรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน แต่ฮ่องกงมีขบวนพาเหรด Pride เพื่อสนับสนุน LGBT มาตั้งแต่ปี 1991 แล้ว
ถ้าพูดถึงฮ่องกง เรามักจะคิดถึง “การกระทำความหว่อง” อันหมายถึงการกระทำเหงาๆ ว้าเหว่ เดียวดาย เหมือนเราอยู่ใน ภาพยนตร์ของหว่องกาไว ผู้กำกับหนังฮ่องกงชื่อดัง ที่สร้างหนังให้มีอารมณ์เหงาเศร้า ดังนั้นเราจึงขอแนะนำหนัง LGBTQ ของหว่องกาไวที่ชื่อว่า Happy Together ที่เป็นหนึ่งในผลงานชื่อดังของเขา
เรื่องราวของไหลเยี่ยฟาและโหหวังเป่า เป็นคู่รักที่เดินทางไปอาร์เจนติน่า เพื่อจะได้ดูน้ำตกอีกวาซูด้วยกัน แต่นานวัน ยิ่งอยู่ด้วยกันความสัมพันธ์ของพวกเขายิ่งแย่ลง พวกเขาจึงแยกย้ายจากกันไปตามทางของตน แต่แล้วก็ดันกลับมาเจอกันใหม่ พร้อมๆกับมีใครคนใหม่เข้ามาในชีวิตของทั้งคู่
หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่แสดงให้ถึงความสัมพันธ์ในห้วงรักของมนุษย์อย่างแท้จริง ทั้งความลุ่มหลง ความใคร่และความเกลียดชังพร้อมๆกัน ถูกถ่ายทอดผ่านโทนสีภาพอันเป็นเอกลักษณ์สมชื่อหนังของหว่องกาไว ไอเท็มที่เหมาะกับหนังเรื่องนี้
#เข็มกลัดรูปกางเกงใน
#อัลบั้มรูปฟิล์ม
แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีการอนุมัติพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียแล้ว ประเทศไทยถือว่าเปิดกว้างสำหรับชาว LGBTQ เป็นอย่างมาก
ในยุคหลังๆนี้ มีหนังและซี่รี่ย์ LGBTQ หลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และเรื่องที่เราเลือกมาก็คือ แปลรักฉันด้วยใจเธอ ที่ได้รับคำชมเรื่องความสมจริงด้วยฝีมือของนักแสดง, การกำกับภาพ, ความธรรมชาติของตัวบท จนได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ
ตัวละครดำเนินเรื่องอย่าง เต๋และโอ้เอ๋ว เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งมีเรื่องผิดใจกันและต่างคนต่างแยกย้ายกันไป จนได้มาเจอกันอีกครั้งที่โรงเรียนสอนภาษาจีนเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย พวกเขาจึงกลายมาเป็นคู่แข่งกันเพื่อสอบเข้าคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดียวกัน การที่พวกเขาได้กลับมาเจอกันจึงทำให้เขาได้รู้จักกันมากขึ้นและความรู้สึกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นระหว่างพวกเขา
เรื่องนี้ถ่ายทำที่ภูเก็ตทำให้เห็นธรรมชาติที่งดงาม มีฉากหลังเป็นสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมไทยจีนฮกเกี้ยน โทนสีและอารมณ์ของการกำกับภาพสวยฟุ้งจนเหมือนอยู่ในความฝัน การแสดงของตัวเอกทั้งสองดีเยี่ยม จนคนดูรู้สึกเชื่อว่าพวกเขารู้สึกแบบนั้นจริงๆ
ในเดือน มิถุนายน 2564 ได้มีการเล่าเรื่องราว ความเติบโต ความฝัน ความสัมพันธ์ ของทั้งสองตัวละคร ที่ต้องพบเจออีกมากมาย ในแปลรักฉันด้วยใจเธอ Part 2
ไอเท็มที่เหมาะกับซีรี่ย์เรื่องนี้
#ผ้าพันคอที่ให้บรรยากาศเหมือนเราอยู่ทะเลที่ภูเก็ต ฉากของเรื่องราวทั้งหมด
#พวงกุญแจภาษาจีน love is love
#โปสการ์ดภาษาจีน “A lover is not a harbor, only oneself can let oneself anchor.”
#หลอดสำหรับดูดน้ำมะพร้าวที่โอ้เอ๋วชอบ
เรื่องราวความรักจากทั้งสี่เรื่องที่นำมาเสนอในวันนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า ความรักไม่ได้จำกัดอยู่แค่สีชมพูหรือสีแดง หากแต่มีหลายสีทั้งซับซ้อนและงดงามไม่ต่างกับสีของรุ้ง
เราหวังภาพยนตร์และซี่รี่ย์จาก 4 ชาติ 4 เรื่องจะทำให้คุณเข้าใจความงดงามที่หลากหลายของความรักมากขึ้นและหากใครที่ยังอินกับความรักสีรุ้ง Pinkoi ยังมีไอเท็มสายรุ้งอีกมากมายที่ให้คุณไปสัมผัสได้ในเว็บไซต์ Pinkoi.come